พัฒนาน้ำพริกชนิดต่างๆให้มีมาตรฐาน ทั้งคุณค่าทางโภชนาการและสุขอนามัย เพื่อเตรียมขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์

     กลุ่มแม่บ้านน้ำพริกพันวามีศักยภาพในการผลิต และแปรรูปน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกไตปลาแห้ง น้ำพริกปลาฉิ้งฉ้าง น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกปลาหยอง และอื่น ๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารสด เช่น ข้าวยำ ขนมจีน ผลิตภัณฑ์มีรสชาติอร่อย เพราะใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีการคัดสรรคุณภาพ โดยผลการดำเนินการมี ดังนี้

1. นำน้ำพริกปลาฉิ้งฉ้างและไตปลาแห้ง ที่ผลิตโดยวิธีการดั้งเดิมของผู้ประกอบการมาปรับบรรจุภัณฑ์และวิธีการบรรจุเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้เก็บที่อุณหภูมิห้องได้นานขึ้น

2. นำผลิตภัณฑ์บรรจุในถุงสุญญากาศ เพื่อวิเคราะห์ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด (total plate count) ผลที่ได้คือ ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในถุงแบบสูญญากาศมีค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้ต่ำกว่าการบรรจุในสภาวะปกติในกระปุก ดังนี้

- น้ำพริกปลาฉิ้งฉ้าง เก็บนอกตู้เย็น ได้ประมาณ 45 วัน (ประมาณ 7 สัปดาห์)

- ไตปลาแห้ง เก็บนอกตู้เย็น ได้ประมาณ 55 วัน (ประมาณ 8 สัปดาห์)

3. น้ำพริกปลาฉิ้งฉ้างและไตปลาแห้ง จัดรูปแบบการบรรจุในถุงแบบสูญญากาศ โดยบรรจุซองละ 20 กรัม (หนึ่งหน่วยบริโภค) ผลิตภัณฑ์น้ำพริก 1 ถุง น้ำหนักสุทธิ 80 กรัม บรรจุน้ำพริก 4 ซอง (น้ำหนัก 20 กรัมต่อซอง)

4. วิเคราะห์ข้อมูลทางโภชนาการของน้ำพริกปลาฉิ้งฉ้าง และไตปลาแห้ง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ยังไม่สามารถขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ได้ เนื่องจากขาดงบประมาณในการจัดสร้างโรงเรือน เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต ทั้งนี้หากมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน (GMP) แล้วจะง่ายต่อการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่อไป

No items found.