กิจกรรมลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ “ออกปากซอแรงสามัคคี” เครือข่ายซอแรงโคกหนองนาอันดามัน

อบรมการออกแบบพื้นที่ตามภูมิสังคม (โคกหนองนาโมเดล) เพื่อนำไปบริหารจัดการน้ำและพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่หรือปรับเปลี่ยนพื้นที่ดินทำกิน

อบรมการออกแบบพื้นที่ตามภูมิสังคม (โคกหนองนาโมเดล) เพื่อนำไปบริหารจัดการน้ำและพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่หรือปรับเปลี่ยนพื้นที่ดินทำกิน

     เครือข่ายซอแรงโคกหนองนาอันดามัน ประกอบด้วยสมาชิก 69 คน เป็นกลุ่มที่สนใจนำศาสตร์พระราชาในด้านการบริหารจัดการน้ำและพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือโคกหนองนาโมเดลไปปรับเปลี่ยนพื้นที่ดินทำกิน ให้สามารถดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืนในขั้นพื้นฐาน คือ พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น ด้วยการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การจัดแบ่งพื้นที่ให้มีแหล่งน้ำกินน้ำใช้ การปลูกข้าวหรือแหล่งอาหารปลอดภัยไร้สารเคมี

ผลการดำเนินงาน

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตจัดการฝึกอบรม การออกแบบพื้นที่ตามภูมิสังคม (โคกหนองนาโมเดล) ในวันที่ 23 - 25 พฤษภาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โดยเชิญคณะวิทยากร ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล และ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลงพื้นที่สอนการออกแบบโคกหนองนาให้ผู้เข้าร่วมอบรม 30 คน มีแบบสำหรับทำโคกหนองนาที่บ้านตนเองจริง

2. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตจัดทีมงานลงสำรวจพื้นที่ และให้ความช่วยเหลือขุดโคกหนองนาโมเดล 10 จุดทั่ว 3 จังหวัดอันดามัน โดยคัดเลือกผู้ผ่านการฝึกอบรมในโครงการ และมีความเป็นจิตอาสาพร้อมจะพัฒนาพื้นที่ของตนเองเพื่อใช้เป็นพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาของชุมชนในอนาคต

- จังหวัดกระบี่ 2 จุด ได้แก่ ตำบลเขาเขน อำเภอปลายพระยา และตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม

- จังหวัดพังงา 6 จุด ได้แก่ ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว และตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง

- จังหวัดภูเก็ต 2 จุด ได้แก่ อำเภอถลาง และตำบลรัษฎา อำเภอเมือง

3. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จัดกิจกรรมออกปากซอแรงสามัคคี โคกหนองนาอันดามัน เป็นประจำทุกเดือน โดยบูรณาการความร่วมมือกับคณาจารย์และนักศึกษา ลงพื้นที่เรียนรู้ศาสตร์พระราชาผ่านการปฏิบัติจริง ร่วมกับจิตอาสาภาคประชาชนที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว โดยเริ่มการซอแรงโคกหนองนาอันดามันในเดือนมิถุนายน 2562

ผลลัพธ์

  1. เกิดเครือข่ายซอแรงอันดามันซึ่งมีสมาชิกว่า60 คน ที่แสดงให้เห็นถึงความสามัคคี และความมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นต้นแบบแหล่งอาหารปลอดภัยแหล่งเรียนรู้ศาสตร์พระราชาของชุมชน และแหล่งพักพิงของ ชุมชนในช่วงภัยพิบัติกระจายตัวทั่วพื้นที่อันดามัน
  2. มีอาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมซอแรงโคกหนองนาอันดามัน ตั้งแต่ครั้งที่ 3 เป็นต้นมา ครั้งละ 30 - 40 คน อาจารย์และนักศึกษามีโอกาสเรียนรู้ศาสตร์พระราชาด้วยการลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่จริง และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน
No items found.