โครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูสอนวิชาภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อนำทักษะไปพัฒนาสื่อการสอนที่ส่งเสริม การอ่าน การเขียน และการวิเคราะห์ของนักเรียน

อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูสอนวิชาภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อนำทักษะไปพัฒนาสื่อการสอนที่ส่งเสริม การอ่าน การเขียน และการวิเคราะห์ของนักเรียน

     ตามนโยบายของรัฐบาลที่วางเป้าหมายให้ประเทศไทยปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และมุ่งให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อันจะนำไปสู่การมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้น โดยวัดจากคะแนนผลสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในแต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ซึ่งนโยบายดังกล่าว สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2560 - 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยผู้เรียนมีทักษะและคุณสมบัติพื้นฐานของพลเมืองไทย มีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะ ตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ ตัวชี้วัดคือ นักเรียน มีคะแนนผลสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50

     ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2563 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่าผลการทดสอบในภาพรวมระดับประเทศทุกรายวิชามีค่าเฉลี่ยคะแนนต่ำว่าร้อยละ 50 ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการศึกษาและการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จึงได้ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนและการวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มวิชาภาษาไทยที่สูงขึ้น ดังนี้

1. จัดทำแบบทดสอบ ก่อน-หลัง การพัฒนา (Pre-test & Post-test) เพื่อบ่งชี้ระดับก่อนและหลังได้รับการพัฒนา

2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อจัดทำสื่อการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมการอ่าน การเขียน และการวิเคราะห์ จำนวน 3 ครั้ง

3. จัดค่ายภาษาไทยให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 โรงเรียน

     นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 61 โรงเรียน ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์รวมทั้งครูประจำการที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งเป็นครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ในด้านทักษะการผลิตสื่อและการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

No items found.