โครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูภาษาไทย รวมถึงสร้างสื่อการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

อบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูภาษาไทย รวมถึงสร้างสื่อการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

     ตามนโยบายของรัฐบาลที่วางเป้าหมายให้ประเทศไทยปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และมุ่งให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อันจะนำไปสู่การมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้น โดยวัดจากคะแนนผลสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในแต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ซึ่งนโยบายดังกล่าว สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560- 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ หัวข้อที่ 3.1 ผู้เรียนมีทักษะและคุณสมบัติพื้นฐานของพลเมืองไทยทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ตัวชี้วัด คือ ผู้เรียนเพิ่มขึ้นและหัวข้อที่ 3.2 คนทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ ตัวชี้วัด คือนักเรียนมีคะแนนผลสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50

     จากรายงานสรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประจำปีการศึกษา 2560 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3และมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่าผลการทดสอบในภาพรวมระดับประเทศทุกรายวิชาค่าเฉลี่ยคะแนนยังคงต่ำว่าร้อยละ 50

     ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการศึกษาและการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตจึงได้ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่านการเขียนและการวิเคราะห์ของ นักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มวิชาภาษาไทยที่สูงขึ้น

กิจกรรมในการดำเนินโครงการฯ

เป้าหมาย: จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรวม 62 โรงเรียน

โรงเรียน 62 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

ตัวชี้วัด:

1.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านออกเขียนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

2.ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (อัตราการตกซ้ำชั้น) ต่ำกว่าร้อยละ 1

ผลลัพธ์: ผลการพัฒนาตามโครงการยกระดับการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนในจังหวัดภูเก็ตพังงา และกระบี่ พบว่า ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินหลังได้รับการพัฒนาในปีงบประมาณ 2562 คิดเป็นร้อยละ 60.97 ส่วนในปีงบประมาณ 2563 ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 64.84 และอัตราการเพิ่มขึ้นของนักเรียนผ่านเกณฑ์หลังการพัฒนาพบว่า ปีงบประมาณ 2562 นักเรียนผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 31.74 และในปีงบประมาณ 2563 นักเรียนผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 38.81

ผลการวิเคราะห์ตามโครงการ
No items found.