โครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อบรมเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูภาษาไทยประจำการ เพื่อนำทักษะไปพัฒนาศักยภาพด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

อบรมเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูภาษาไทยประจำการ เพื่อนำทักษะไปพัฒนาศักยภาพด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

     จากการจัดอันดับคะแนนด้านการศึกษาของไทยโดย IMD (International Institute for Management Development : IMD) ปีพ.ศ.2557 (2014) พบว่าคะแนนตัวชี้วัดด้านการศึกษาของประเทศลดลงเกือบทุกด้านโดยประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาด้านการศึกษาอย่างเร่งด่วนเช่นผลการทดสอบ PISA 2012 (อันดับที่44) คุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (อันดับที่44) ซึ่งพื้นฐานสำคัญของปัญหาบางส่วนเกิดจากนักเรียนในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานบางระดับชั้นมีปัญหาเรื่องการอ่านออกเขียนได้ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษารวมทั้งสถานศึกษาในฐานะหน่วยงานปฏิบัติการดำเนินงานจากนโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมจึงกำหนดนโยบายให้นักเรียนทุกระดับชั้นอ่านออกเขียนได้อ่านคล่องเขียนคล่อง

    มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเป็นสถาบันการศึกษาของท้องถิ่นมีพันธกิจหลักตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นมีรากเหง้าของการพัฒนาสถาบันการศึกษามาจากโรงเรียนการฝึกหัดครูซึ่งมีประสบการณ์อันยาวนานในการผลิตและพัฒนาครูตลอดจนบัณฑิตในสาขาอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยเฉพาะด้านการผลิตและพัฒนาครู โดยจุดแข็งของมหาวิทยาลัยราชภัฏคือมีความใกล้ชิดกับท้องถิ่น มีฐานข้อมูล และสถานการณ์ปัญหาจริงของชุมชนตลอดจนความสามารถในการประสานกับผู้บริหารทุกระดับได้รับการยอมรับจากภาคีเครือข่ายในระดับจังหวัดและภูมิภาคจากความสำคัญของปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ให้บริการการศึกษา

     มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตจึงได้จัดทำโครงการ “การอ่านการเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มวิชาภาษาไทยที่สูงขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน

กิจกรรมในการดำเนินโครงการฯ

   

 

เป้าหมาย: จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรวม 61 โรงเรียน

โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

ตัวชี้วัด: นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านออกเขียนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

ผลลัพธ์: นักเรียนของโรงเรียนทั้งสามจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 1,853 คน สอบผ่านเกณฑ์จำนวน 1,130 คน คิดเป็นร้อยละ 60.98 หรือร้อยละ 61

ผลการดำเนินโครงการ
No items found.